หน้าแรก

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ดอร์เมาส์ กระรอกจิ๋ว เลียนเสียงจิ้งหรีด เพื่อเรียกคู่


ดอร์เมาส์ กระรอกจิ๋ว
ในช่วงต้นปี’ 50 ตลาดนัดสวนจตุจักร โซนสัตว์เลี้ยง เริ่มมี “กระรอกจิ๋ว” มาให้ยลโฉมประปราย ซึ่งขณะนั้นยังไม่ค่อยมีใครรู้จักกันมากนัก…
ดอร์เมาส์” (dormouse)  มีมากกว่า 20 สายพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์จัดแยกออก จากกลุ่มหนู พบเห็นได้ทั้งใน ญี่ปุ่น ยุโรป และ แอฟริกา แต่ละชนิดมีถิ่นที่อยู่ สีสัน ขนาดแตกต่างกันไป มีความเหมือนตรง ลักษณะรูปร่าง และนิสัยที่คล้ายกระรอก โดยสายพันธุ์นิยมเลี้ยงมาก คือ “ปิ๊กมี่ ดอร์เมาส์” (Afri can pygmy dormouse)  ส่วนหนึ่งเป็น เพราะขนาดเล็กที่สุด จนได้ฉายาว่า “กระรอกจิ๋ว”
ทั้งนี้ ลักษณะโดยทั่วไป ของมันคือ ขน ด้านบนตัวเป็นสีเทาอ่อน ท้อง สีขาวครีม เมื่ออายุมากขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และที่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวก็ตรงที่ “หางฟู” สามารถวัดขนาดความยาวได้เท่ากับลำตัว ส่วน พฤติกรรมจัดเป็นสัตว์กลางคืน แต่ในบางครั้งก็อาจหากินได้ทั้งวัน ซึ่งอาหารจะเป็นชนิดเดียวกับสัตว์ฟันแทะทั่วไป
และ…ถ้าเอามาเลี้ยงสามารถให้อาหารเม็ดสำหรับหนูแฮมสเตอร์ อาหารแมวไขมันต่ำ อาหารนกเขา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ควร เสริมด้วยผลไม้สด ผลไม้ แห้ง นมอัดเม็ด โยเกิร์ต ผักสด จิ้งหรีด หนอนนก และ ขนมปัง สลับสับเปลี่ยนกันไป
ตัวจิ๋ว” เป็นสัตว์ สังคมชอบอยู่รวมกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม สถานที่เลี้ยงต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ประมาณ 24 ํC สามารถเลี้ยงได้ในตู้ปลาขนาด 20 นิ้ว โดยใส่วัสดุรองพื้น อาทิ กระดาษฝอย ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด หรือ ทรายสำเร็จรูป ให้สูงประมาณ 2 นิ้ว และควรใส่หญ้าแห้ง เศษผ้า หรือเศษไหมพรมไว้ให้มันคาบไปรองรังนอน
ตามด้วยกิ่งไม้แห้ง เชือก โพรงไม้ เพื่อให้พวกมันปีนป่ายแก้ “เซ็ง” ที่สำคัญ ควรหาบ้านไม้สำเร็จรูป หรือ กระถางดินเผา เล็กๆ ให้มันเข้าหลบซ่อนในเวลากลางวัน เพื่อช่วยลดความเครียด ถ้าหากอากาศเริ่มเย็น “เจ้าหางฟู” จะหาโพรงไม้ รังนกเก่า เพื่อเข้าไป “จำศีล” ตลอดช่วงฤดูหนาว แต่พอมาอยู่ในบ้านเรามันก็มีอาการ “ศีลแตก” ได้ เพราะที่นี่อาหารมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งความเย็นยังไม่มากเท่ากับบ้านเกิดของมันนั่นเอง…
ดอร์เมาส์ เมื่อโตเต็มวัยซึ่งอยู่ในช่วงราว 6 เดือน วัดขนาดได้ประมาณ 3-4 นิ้ว น้ำหนัก 25-30 กรัม ควร แยกตัวผู้ออกเพราะ “เจ้าหนุ่ม” จะเริ่มทะเลาะกันเองเพื่อแย่งคู่ครอง เราสามารถสังเกตได้จากเสียงร้อง “คริกๆ” คล้ายจิ้งหรีด ฉะนั้น เพื่อไม่เป็นการ “ทำร้ายกันทางธรรมชาติ” มากนัก ควรจัดให้อยู่เป็นคู่ ซึ่งอัตราที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ 1 ตัว/ตัวเมีย 2 ตัว หลังผ่านเวลา “สปาร์ก” “สาวเจ้า” จะใช้เวลาตั้งท้องราว 25-30 วัน จึงตกลูกครอกหนึ่งมีตั้งแต่ 2-10 ตัว ช่วงนี้ควรให้สมาชิกใหม่อยู่กินนมแม่อย่างน้อย 18-20 วัน ซึ่งจะทำให้อัตราการ รอดสูง…



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น